โพคาฮอนทัส ประวัติ

ข้อมูลพื้นฐาน โพคาฮอนทัส ปรากฎตัวครั้งแรก: Pocahontas 1995 อายุ: ไม่แน่ใจค่ะ แต่คิดว่าน่าจะประมาณ 16-17 ปี ฐานะในการเป็นเจ้าหญิง: สายเลือด(พ่อเป็นหัวหน้าเผ่า) สัญชาติ : Powhatan (เผ่าหนึ่งของชาวอินเดียแดงค่ะ) อ้างอิงจากนิทานเรื่อง:  อ้างอิงจากชีวประวัติของ Matoaka refference ตัวละครอ้างอิงจาก: Irene Bedard คู่สมรส : John Rolfe เจ้าหญิงคนที่ 7 นะคะ Pocahontas ค่ะ ตามเดิมแล้วโพคาฮอนทัสไม่อยู่ใน line-up ของ Disney Princess ตั้งแต่เริ่มแรก ทั้งๆที่การก่อตั้ง Disney Princess มีตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 ซึ่งหลังจากปีที่โพคาฮอนทัสออกฉายครั้งแรกตั้ง 5 ปี อาจจะด้วยเพราะความเป็นชนเผ่า ไม่ถึงกับจะนับได้ว่าเปนราชวงศ์สักทีเดียว แต่สุดท้ายนางก็ได้เข้ากลุ่มค่ะ และคะแนนนิยมของนางก็มีไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว รายชื่อเจ้าหญิงดิสนีย์ โพคาฮอนทัส น่าสนใจมากค่ะ เนื่องจากเรื่องของโพคาศอนทัสเนี่ย ดิสนีย์ดัดแปลงมาจากชีวประวัติของ Matoaka […]

เทียน่า ประวัติ

ข้อมูลพื้นฐาน เทียน่า ปรากฎตัวครั้งแรก: The Princess and the frog 2009 อายุ: 19 ปี ฐานะในการเป็นเจ้าหญิง: อภิเษกสมรส สัญชาติ : อเมริกัน-แอฟริกัน อ้างอิงจากนิทานเรื่อง:  The Frog Prince refference ตัวละครอ้างอิงจาก: เจ้าหญิงในเรื่อง The Frog Prince และ Leah Chase เชฟสาวผิวสีชาวนิวออร์ลีนส์ คู่สมรส : Prince Naveen หลังจากภาพยนตร์เรื่อง Mulan ในปี 1998 ผ่านพ้นไป ดิสนีย์ก็อยู่ในช่วงรุ่งเรืองอีกสองสามปี จนความดังของหนังการ์ตูนดิสนีย์ค่อยๆเบาบางลง และดิสนีย์เองก็ไม่ได้หันกลับไปทำหนังแนว fairy tale มานานมากแล้ว ดังนั้นในปี 2009 ดิสนีย์จึงออกภาพยนตร์แนวแฟรี่เทลเรื่องใหม่ โดยฝีมือของสองผู้กำกับ Ron Clements และ John Musker สองผู้กำกับผู้เคยกอบกู้ความรุ่งเรืองของดิสนีย์ให้กลับมาด้วยผลงานอย่าง […]

รายชื่อเจ้าหญิงดิสนีย์

รายชื่อเจ้าหญิงดิสนีย์ ดิสนี่ย์ ปริ๊นเซส (อังกฤษ: Disney princess) เป็นสาขาหนึ่งที่แบ่งย่อยออกมาจาก บริษัท วอลท์ ดิสนี่ย์ ที่รวบรวมเอาตัวการ์ตูนเจ้าหญิงที่โด่งดังเอาไว้ ได้แก่ สโนว์ไวท์, ซินเดอเรลล่า, ออโรร่า, แอเรียล, เบลล์, จัสมิน, โพคาฮอนทัส, มู่หลาน, เทียน่า, ราพันเซล, เมริด้า,และโมอาน่า รายชื่อเจ้าหญิงดิสนีย์ ประวัติ รายชื่อเจ้าหญิงดิสนีย์ เมื่อปี ค.ศ. 2000 แอนดี้ มูนนี่ได้รับการว่าจ้างโดยบริษัทผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคของดิสนี่ย์ ให้ช่วยดูแลการขายที่ถดถอยลง แล้วความคิดเกี่ยวกับ ดิสนี่ย์ ปริ๊นเซสก็เกิดขึ้น เมื่อหลังจากที่ร่วมงานกับดิสนี่ย์ไม่นานเขาได้ร่วมกับ ดิสนี่ย์ ออน ไอซ์ และมีเด็กหญิงตัวล็ก ๆ ที่สวมชุดเจ้าหญิงมารุมล้อม เขาเสนอเรื่องนี้และความต้องการซื้อสินค้าของตลาดก็เพิ่มสูงขึ้น ไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ดิสนี่ย์ ปริ๊นเซส ธุรกิจสาขานี้โด่งดังในเวลาอันรวดเร็วและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การขายสินค้าพุ่งขึ้นจาก 300 ล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2001 เป็น 3 […]

ราพันเซล disney Rapunzel | Tangled เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ

ราพันเซล disney ช่วงนี้ เหมือน lecomptoirdespoivrepoivres จะได้ดูแอนิเมชั่นบ่อยขึ้นนะ ล่าสุด ก็ได้ดูอีกเรื่องละ หลังจากดู ‘Rango’ แอนิเมชั่นแนวจริงจัง ซึ่งดูจะมีลักษณะเป็นเพศชายอยู่นิดๆ คราวนี้ลองเปลี่ยนมาดูแอนิเมชั่นแบบหญิงๆ ดูบ้าง ก็ ‘Rapunzel’ หรือชื่อไทย ‘เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ’ ยังไงล่ะท่าน ภาพจากหนังแอนิเมชันเรื่อง ‘เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ’ หลายคนอาจคุ้นกับชื่อ ‘Tangled‘ มากกว่า นั่นเพราะ ค่ายหนังหวั่นกลุ่มผู้ชายไม่สนใจไปดู เพราะชื่อ Ranpunzel จะดูหญิงมากๆ ซึ่งจริงๆ หนังมันก็หญิงจริงๆ นี่นะ เหอๆ แอเรียล the little mermaid แอนิเมชั่นจาก Walt Disney Animation Studios ที่ได้ Nathan Greno, Byron Howard สองผู้กำกับฯ มาดูแล ที่แม้ชื่อชั้นจะไม่ได้โดดเด่นมากนัก แต่หลังจากได้ชมจบ ก็ต้องปรบมือให้เลยทีเดียว นี่คือแอนิเมชั่นชวนฝันแบบหญิงๆ ที่ผู้ชายกำกับฯ และออกมาเริ่ดมากมาย […]

mulan มู่หลาน

mulan มู่หลาน ย้อนกลับไปปี 1998 ดิสนีย์ได้พยายามเจาะตลาดเอเซียด้วยแอนิเมชันที่หยิบตำนานวีรสตรีของจีนอย่าง ฮัวมู่หลาน มาดัดแปลงจัดแต่งมันภายใต้รูปแบบดิสนีย์นิยมที่มาเต็มทั้งสัตว์พูดได้ มุกตลกแบบการ์ตูนและความเวียร์ดถึงขั้นมีมังกรที่รูปร่างเหมือนกิ้งก่าพูดได้มาคอยเป็นผู้ช่วยของมู่หลาน ซึ่งแน่นอนล่ะว่ามันก็สร้างความไม่พอใจกับคนจีนจนล้มเหลวด้านรายได้ตอนออกฉาย แต่สำหรับตลาดแอนิเมชันโลกโดยเฉพาะเอเซียมันกลับสร้างความนิยมให้กับเด็ก ๆ ในยุคนั้น ลามไปถึงปรากฎการณ์สำคัญคือมันได้กลาย “การ์ตูนตัวแม่” สำหรับบรรดากะเทยด้วยเพลง Reflection ที่ส่งเหลือเกินกับเนื้อหาการปิดบังตัวตน และพลอยส่งให้ชื่อของคริสตินา อากีเลราดังเป็นพลุแตกในฐานะคนร้องเพลงนี้ (และแม่ของเหล่ากะเทย) และสำหรับผมเองความทรงจำเดียวที่มีต่อ MULAN เวอร์ชันนั้นก็แค่เพลงนี้นี่แหละครับ 555 แต่กระนั้นในปี 2020 นี้ ดิสนีย์คงตระหนักได้จากการทดลองเอาของเก่ามาหากิน เอ้ย ! ดัดแปลงแอนิเมชันให้กลายเป๋็นหนังคนแสดงหรือเรียกหรู ๆ ว่าไลฟ์แอ็กชัน (Live Action) ทั้ง The Jungle Book, Aladdin และ The Lion King โกยเงินเข้ากระเป๋าได้แบบไม่ต้องคิดเยอะเลยว่าแอนิเมชันอย่าง MULAN เองก็ไม่ยากนี่หว่าที่จะเอามาทำเป็นหนังคนแสดงเรื่องต่อไปแต่อนิจจาตัวหนังก็ดันสร้างประวัติศาสตร์ในตัวมันเองแบบไม่ตั้งใจเสียด้วย ทั้งหลิวอี้เฟยที่ออกมาโพสต์สนับสนุนให้ตำรวจใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วงในฮ่องกงจนเกิดกระแสแบนหนังในประเทศต่าง ๆ และการตัดสินใจของดิสนีย์ที่เอาหนังลงสตรีมมิงแทนการออกฉายที่อเมริกา แอเรียล the little mermaid กลับมาที่หนังกันดีกว่า..แน่นอนว่า […]

แอเรียล the little mermaid

แอเรียล the little mermaid หลังประสบความสำเร็จจากแอนิเมชั่นในตระกูลเจ้าหญิงอย่าง สโนไวท์ (1938) ซินเดอเรลล่า (1950) และ เจ้าหญิงนิทรา (1959) หลายคนอาจมองว่าผลงานแอนิเมชั่นเรื่องดังลำดับต่อไปอย่าง The Little Mermaid (หรือชื่อเรียกในภาษาไทย ‘เงือกน้อยผจญภัย’) คงได้รับความสนใจและเงินทุนจากผู้ผลิตอย่างท่วมท้น อันที่จริง The Little Mermaid เป็นผลงานชี้เป็นชี้ตายของทีมแอนิเมชั่นดิสนีย์ หลังวอลเตอร์ อีเลียส ดิสนีย์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเสียชีวิตจากมะเร็งปอดในปี 1966 ดิสนีย์ประสบปัญหาไร้ทิศทางและผลงานที่ผลิตออกมาหลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็น The Aristocats (1970), Robin Hood (1973) และ Pete’s Dragon (1977) ไม่สามารถสร้างกำไรจนทำให้บริษัทอยู่ในภาวะล่อแหลม มีการจ้างผู้บริหารคนใหม่และตั้งใจปรับเปลี่ยนทิศทางบริษัท จากการผลิตแอนิเมชั่นที่ต้องใช้ทุนและเวลามาก ไปสู่หนังคนแสดงที่สามารถควบคุมต้นทุนและเวลาได้มากกว่า ทีมแอนิเมชั่นดิสนีย์รู้ดีว่าผลงานชิ้นต่อไปอาจเป็นโปรเจกต์ต่อลมหายใจครั้งสุดท้ายจึงได้หันไปใช้การนำเสนอเรื่องราวแบบใหม่ในลักษณะของละคร Broadway โดยหากเปรียบเทียบกับแอนิเมชั่นเรื่องก่อนอย่าง สโนไวท์หรือซินเดอเรลล่า บทเพลงที่ถูกแต่งขึ้นมาเป็นเพียงองค์ประกอบรอง หากตัดออกไปผู้ชมก็ยังสามารถเข้าใจเนื้อหาได้แทบทั้งหมด แต่ใน The Little Mermaid […]